พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
อธิบดีกรมราชพัสดุ | |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ เกษมศรี หม่อม 9 ท่าน |
พระบุตร | 30 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจันทร์ พระสนมเอก |
ประสูติ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 |
สิ้นพระชนม์ | 3 มกราคม พ.ศ. 2458 (57 ปี) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ[1] มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2][3] และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] และเป็นต้นราชสกุลเกษมศรี
พระประวัติ
เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ พระสนมเอก เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ ทรงศักดินา 15000[5] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กำกับกรมช่างมุก
เมื่อพระชันษาครบอุปสมบท ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศพรรษา 1 ถึงพ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ ทรงกำกับกรมช่างมุกและทรงรับราชการด้านใหญ่ ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงรับราชการตำแหน่งอธิบดีกรมราชพัสดุ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ทรงปฏิบัติได้ไม่นาน เนื่องจากประชวรพระโรคภายใน จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการประจำ คงรับแต่ราชการจรเป็นครั้งคราว ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อพ.ศ. 2430 เป็นกรรม- สัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ ชุดที่ 3 และได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2
นอกจากทรงงานประจำและงานจรที่ทรงปฏิบัติแล้ว ยังมีงานอดิเรกที่ทรงรักและทรงอัจฉริยภาพอย่างยิ่ง ได้แก่
การละคร ทรงถนัดทั้งแบบละครเก่าและละครใหม่ ทรงแสดงละครทั้งละครพูดและละครร้องเช่น เรื่องโจร 40 เรื่องผัวกลัวเมีย และเรื่องนิทราชาคริต
การดนตรี โปรดการเล่นซอสามสายกับระนาด ทรงจัดตั้งวงมโหรีปี่พาทย์ ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 5
การเล่นกล้วยไม้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่รู้จักเลี้ยงกล้วยไม้อย่างประณีต จนในที่สุดทรงเพาะพันธุ์ไม้ขึ้นได้สำเร็จ เช่น แคทลียาชื่อ ทิวากาเรียนา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประชวรพระโรคบังคนเบาพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ณ วังถนนขาวสามเสน สิริพระชันษาได้ 59 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑป และโปรดให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน[6] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2459[1]
ผลงาน / งานประพันธ์
1.โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดราม ห้องที่งที่ 40 – 4 รวมโคลง 56 บท เนื้อความตั้งแต่ทศกัณฐ์ฝันร้ายจนถึงพิเภกทูลเรื่องทัพยักษ์ในเมืองลงกา
2. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร โคลงประกอบรูปที่ 80 แผ่นดินพระเจ้าเอกทศ ภาพพระยาไทรถวายช้างเล็บค โคลงประกอบรูปท่ 2 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท
3. วชิรญาณสภาษิต* จำนวน 2 บท
4. โคลงสุภาษิตใหม่ หรือโคลงสุภาษิตเจ้านาย 16 บท
โคลงความรัก
โคลงความเกลียดชัง
โคลงความเบื่อหน่าย
โคลงความเย่อหยิ่ง
โคลงความอาลัย
โคลงความริษยา
โคลงความพยาบาท
โคลงความอาย
โคลงความกลัวขลาด
โคลงความกล้าหาญ
โคลงความเกียจคร้าน
โคลงความเพียร
โคลงความโทมนัส
โคลงความโกง
โคลงความสัตย์ซื่อ
โคลงความโกรธ
5. โคลงความเท็จ ซึ่งเป็นโคลงว่าด้วยของสิ่งเดียวจำนวน 7 บท ต่อมารวมพิมพ์ในชื่อว่าโคลงพิพิธพากย์
6. ยันตรสาตร ในโคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์
7. อธิบายด้วยเครื่องหอม 7 ประการ
8. Court ข่าวราชการ ทรงพระนิพนธ์ 6 ฉบับคือ
วันจันทร์ เดือน 9 ขึ้น 3 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238 (พ.ศ. 2419)
วันพุธ เดือน 9 แรม 4 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
วันศุกร์ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
วันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
วันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
วันจันทร์ เดือน 10 แรม 15 ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช 1238
พระโอรสและพระธิดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีชายา 1 องค์ และหม่อม 9 ท่าน ได้แก่
- หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม : สโรบล)
- หม่อมพลัด
- หม่อมละม้าย (สกุลเดิม : ปาณิกบุตร)
- หม่อมเป้า
- หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ (ราชสกุลเดิม : สิงหรา) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร
- หม่อมสอน (สกุลเดิม : พวงนาค)
- หม่อมแช่ม
- หม่อมเชย
- หม่อมเชื้อ
- หม่อมแหวน (สกุลเดิม : ปาณิกบุตร)
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 30 พระองค์ เป็นชาย 18 พระองค์ และหญิง 12 พระองค์
พระรูป | พระนาม | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าปฏิพัทธเกษมศรี ท.จ. (องคมนตรี) | ที่ 1 ในหม่อมเพิ่ม | มีนาคม 2415 | 27 พฤศจิกายน 2467 | หม่อมรอด หม่อมเนื่อง (ปันยารชุน) | |
![]() |
2. หม่อมเจ้าหญิงเม้า | ที่ 2 ในหม่อมเพิ่ม | พ.ศ. 2416 | 27 ธันวาคม 2418 | |
![]() |
3. หม่อมเจ้าสมบัติบูรณ์ | หม่อมพลัด | พฤษภาคม 2417 | 3 พฤษภาคม 2466 | หม่อมจำเริญ (ปาณิกบุตร) หม่อมพู |
![]() |
4. หม่อมเจ้าศุภโยคเกษม (พ.ศ. 2464: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม) พระนามเดิม หม่อมเจ้าเณร |
ที่ 3 ในหม่อมเพิ่ม | 29 สิงหาคม 2417 | 6 มกราคม 2475 | หม่อมขาว (สุรนันท์) หม่อมนวม (เสขรฤทธิ์) หม่อมพิง (สุรนันท์) |
![]() |
5. หม่อมเจ้าหญิงผกามาลย์ | ที่ 1 ในหม่อมละม้าย | 1 มิถุนายน 2424 | 27 กุมภาพันธ์ 2468 | |
![]() |
6. หม่อมเจ้าหญิงวรวิลาศรำไพ | หม่อมเป้า | เมษายน 2426 | 2 ตุลาคม 2451 | หม่อมเจ้าอนุชาติสุขสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ |
![]() |
7. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | พ.ศ. 2428 | 26 พฤษภาคม 2434 | ||
8. หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม | หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ | 14 พฤศจิกายน 2429 | 25 กันยายน 2506 | หม่อมเจ้าหญิงสุขศรีสมร เกษมศรี หม่อมน้อม | |
9. นายพลตรี หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี
(ท.จ., ต.ช., ต.ม., ว.ป.ร.3, ร.ศ.ม.(ศ), ร.จ.ม.) |
ที่ 1 ในหม่อมสอน | 29 ตุลาคม 2433 | 15 ตุลาคม 2476 | หม่อมประภัศร์ (หงสกุล) | |
![]() |
10. หม่อมเจ้าตระการโชค | ที่ 2 ในหม่อมละม้าย | พ.ศ. 2433 | 1 มีนาคม 2447 | |
11. หม่อมเจ้าสมภพ (ท่านชายสำเภา) | หม่อมแช่ม | 7 สิงหาคม 2434 | 24 กันยายน 2506 | หม่อมเยื้อน (ลักษณะประนัย) | |
![]() |
12. หม่อมเจ้าเผือก | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
13. หม่อมเจ้าจิตรโภคทวี | ที่ 3 ในหม่อมละม้าย | 10 ตุลาคม 2436 | 16 พฤศจิกายน 2489 | หม่อมพร (เลาหเศรษฐี) | |
![]() |
14. หม่อมเจ้าเล็ก | ที่ 2 ในหม่อมสอน | 1 มกราคม 2436 | 6 พฤษภาคม 2437 | |
![]() |
15. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | 7 กันยายน 2437 | 2 กรกฎาคม 2438 | ||
16. หม่อมเจ้าวัฒยากร | ที่ 3 ในหม่อมสอน | 28 สิงหาคม 2438 | 14 เมษายน 2517 | หม่อมละออง (สุขสถิตย์) หม่อมสายหยุด (ตะเวทีกุล) | |
![]() |
17. หม่อมเจ้าอรรคพันธ์ | ที่ 1 ในหม่อมเชย | มิถุนายน 2438 | ตุลาคม 2461 | |
18. หม่อมเจ้าหญิงสุขศรีสมร | ที่ 4 ในหม่อมละม้าย | 11 ตุลาคม 2438 | 16 ธันวาคม 2487 | หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี | |
19. หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงศ์ | ที่ 1 ในหม่อมเชื้อ | 10 สิงหาคม 2439 | 12 กุมภาพันธ์ 2500 | หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ | |
![]() |
20. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | พ.ศ. 2439 | ||
21. หม่อมเจ้าหญิงสมทรง | ที่ 4 ในหม่อมสอน | 17 กันยายน 2441 | 22 กุมภาพันธ์ 2485 | หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล | |
22. หม่อมเจ้าอธิพรพงศ์ | ที่ 1 ในหม่อมแหวน | 15 มกราคม 2441 | 8 ธันวาคม 2507 | หม่อมเกสรบุปผา (อาคมานนท์) | |
23. หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ | ที่ 2 ในหม่อมเชื้อ | 4 กรกฎาคม 2442 | 20 มกราคม 2489 | หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ | |
![]() |
24. หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุภา (ท่านหญิงตุ๊) | ไม่ทราบปี | 2 ตุลาคม 2451 | หม่อมเจ้าอนุชาติสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ | |
25. หม่อมเจ้าสโมสรเกษม | ที่ 5 ในหม่อมละม้าย | 16 เมษายน 2445 | 23 เมษายน 2532 | หม่อมเจ้าหญิงแขไขจรัสศรี (เทวกุล) | |
26. หม่อมเจ้าหญิงมัณฑนา (ท่านหญิงสั้น) | ที่ 2 ในหม่อมเชย | 20 เมษายน 2445 | 23 กรกฎาคม 2488 | ||
27. หม่อมเจ้าหญิงวงศ์แข | ที่ 5 ในหม่อมสอน | 1 พฤษภาคม 2445 | 18 กันยายน 2539 | หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ เกษมสันต์ | |
28. หม่อมเจ้ามงคลโยค | ที่ 2 ในหม่อมแหวน | 29 มิถุนายน 2453 | 12 พฤศจิกายน 2473 | ||
29. หม่อมเจ้าหญิงเกษมเสาวภา (ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) |
ที่ 3 ในหม่อมแหวน | 8 มิถุนายน 2457 | 29 มกราคม 2545 | เพียร์ ชัคกาเรีย | |
30. หม่อมเจ้าบุญโศลกเกษม | ที่ 4 ในหม่อมแหวน | 12 มกราคม 2458 | 26 ธันวาคม 2540 | หม่อมศรีสมบัติ (อาคมานนท์) |
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2439 -
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า) [7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2428 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2447 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[9]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "การพระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 711–715. 25 มิถุนายน 2459. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานสุพรรณบัตร และหิรัญบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (34): 414. 22 พฤศจิกายน ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (ง): 2408. 9 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแก่ท่านที่ได้รับพระสุพรรณบัตรและหิรัญบัตร, เล่ม ๑๓, ตอน ๓๔, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๙, หน้า ๔๑๗
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/061/536.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๕
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พล.ต. ม.ร.ว. และม.ร.ว แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. ที่รฦก 150 ปี วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2550.
วชิรญาณ เล่มที่ 1 ฉบับที่ 1 จ.ศ. 1246 และพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ กับประวัติเจ้าจอมมารดาจันทร์ในรัขกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : ชาตรี ศิลปสนอง, 2541. (พิมพ์แจกเนื่องในงานฌาปนกิจศพ นางสายหยุด ตะเวทิกุล ณ เมรุวัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าวัฒยากร เกษมศรี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 17 ธันวาคม 2517. กรุงเทพฯ : ไชยเจริญการพิมพ์, 2517.