สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นโท กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา | |
![]() | |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา |
ประสูติ | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 |
สิ้นพระชนม์ | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467 (39 ปี) |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามาลินีนพดารา"
เมื่อปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอรรคชายาเธอขึ้นเป็นเจ้าฟ้า ดังนั้น พระองค์จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา"[1] หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี"[2]
ในปี พ.ศ. 2454 ทรงร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี พระโสทรขนิษฐภคินี บริจาคทุนทรัพย์สร้างเครื่องใช้สำหรับ "ตึกเยาวมาลย์อุทิศ ปิยราชบพิตร ปดิวรัดา" ในโรงเรียนเทพศิรินทร์
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ประชวรด้วยพระโรคพระปับผาสะมานาน และต่อมาประชวรด้วยโรคพระวักกะ พระอาการทรุดลงและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467 ณ วังสวนสุนันทา สิริพระชันษา 39 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ วังสวนสุนันทา เจ้าพนักงานภูษามาลาเชิญพระศพลงสู่พระโกศลองในประกอบด้วยพระโกศกุดั่นใหญ่ และอัญเชิญพระศพจากวังสวนสุนันทา มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ภายในพระราชวังดุสิต ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา"[3]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามาลินีนภดารา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 - พ.ศ. 2431)
- พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา (พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2439)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี (พ.ศ. 2439 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2467)
ภายหลังการสิ้นพระชนม์
- สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (4 มกราคม พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[4]
- พ.ศ. 2440 -
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)[5]
- พ.ศ. 2465 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[6]
- พ.ศ. 2438 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[7]
- พ.ศ. 2451 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[8]
- พ.ศ. 2455 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[9]
พงศาวลี
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม 5, ตอน 8, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431, หน้า 61
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัฏ, เล่ม 13, ตอน 44, 31 มกราคม พ.ศ. 2439, หน้า 533
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาตั้งกรมสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดาราศิรินิภาพรรณวดี เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน, เล่ม 41, ตอน ง, 11 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3635
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 41, ตอน ง, 4 มกราคม พ.ศ. 2467, หน้า 3573
- ↑ "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศที่พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอที่ได้รับพระสุพรรณบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (45): 548. 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/3185_1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูป และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเศกครั้งหลัง, เล่ม ๑๒, ตอน ๓๓, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๘, หน้า ๓๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 22 มกราคม พ.ศ. 2455, หน้า 2444
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2467
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- เจ้าฟ้าหญิง
- กรมขุน
- พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายที่เคยประทับอยู่ในวังสวนสุนันทา
- เสียชีวิตจากโรคไต
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์